ข้อควรรู้เมื่อเป็นนิ้วล็อค พร้อมวิธีแก้!

loading...
อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

* ระยะแรก
1. มีอาการปวดเป็นอาการหลัก
2. โดยมากจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ
3. มีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด

* ระยะที่สอง
1. มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก
2. อาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้น เวลาขยับนิ้ว งอ และเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้

* ระยะที่สาม
1. มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ
2. อาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง

* ระยะที่สี่
1. มีการอักเสบบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยเหยียดจะปวดมาก



วิธีป้องกัน "โรคนิ้วล็อค"

* ไม่หิ้วของหนัก
1. ยกตัวอย่างเช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ
2. ถ้าจำเป็นต้องหิ้ว ควรใช้ผ้าขนหนูรองและหิ้วให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ แทนที่จะให้น้ำหนักตกที่ข้อนิ้วมือ
3. ใช้วิธีการอุ้มประคองช่วยลดการรับน้ำหนักที่นิ้วมือได้

* ไม่ควรบิดหรือซักผ้าด้วยมือเปล่าจำนวนมากๆ
1. ไม่ควรบิดผ้าให้แห้งสนิท เพราะจะยึดปลอกหุ้มเอ็นจนคราก และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อค

* นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกล ควรใส่ถุงมือ
1. ใช้ผ้าสักหลาดหุ้มด้ามจับให้หนาและนุ่มขึ้น เพื่อลดแรงปะทะ
2. ไม่ควรไดร์กอล์ฟต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

* เวลาทำงานที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่าง
1. ควรระวังการกำหรือบดเครื่องมือทุ่นแรง เช่น ไขควง เลื่อย ค้อน ฯลฯ
2. ควรใส่ถุงมือหรือห่อหุ้มด้ามจับให้ใหญ่และนุ่มขึ้น

* ชาวสวนควรระวังเรื่องการตัดกิ่งไม้ด้วยกรรไกร หรืออื่นๆ
1. ที่ใช้แรงมือควรใส่ถุงมือเพื่อลดการบาดเจ็บของปลอกเอ็นกับเส้นเอ็น
2. ควรใช้สายยางรดน้ำต้นไม้แทนการหิ้วถังน้ำ

* คนที่ยกของหนักๆ เป็นประจำ
1. ยกตัวอย่างเช่น คนส่งน้ำขวด ถังแก๊ส แม่ครัวพ่อครัว ควรหลีกเลี่ยงการยกมือเปล่า ควรมีผ้านุ่มๆ มารองจับขณะยก และใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก

* หากจำเป็นต้องทำงานที่ต้องใช้มือกำ หยิบ บีบ เครื่องมือเป็นเวลานานๆ
1. ควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ใช้ผ้าห่อที่จับให้หนานุ่ม เช่น ใช้ผ้าห่อด้ามจับตะหลิวในอาชีพแม่ครัวพ่อครัว

* งานบางอย่างต้องใช้เวลาทำงานนานต่อเนื่อง ทำให้มือเมื่อยล้าหรือระบม
1. ควรพักมือเป็นระยะๆ เช่นทำ 45 นาที ควรจะพักมือสัก 10 นาที

วิธีการรักษาอาการนิ้วล็อค

* การใช้ยารับประทาน เพื่อลดการอักเสบ ลดบวม และลดอาการปวด ร่วมกับพักการใช้มือ

* การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด ได้แก่
1. การใช้เครื่องดามนิ้วมือ
2. การนวดเบาๆ
3. การใช้ความร้อนประคบ
4. การออกกำลังกายเหยียดนิ้ว
5. การรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด อาจใช้ร่วมกันได้ และมักใช้ได้ผลดีเมื่อมีอาการของโรคในระยะแรก และระยะที่สอง

* การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่
1. เพื่อลดการอักเสบ ลดปวดและลดบวม เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมาก
2. ส่วนมากมักจะหายเจ็บ บางรายอาการติดสะดุดจะดีขึ้น
3. การฉีดยามักถือว่าเป็นการรักษาแบบชั่วคราว และข้อจำกัดก็คือ ไม่ควรฉีดยาเกิด 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อ 1 นิ้วที่เป็นโรค การรักษาโดยการฉีดยานี้สามารถใช้ได้กับอาการของโรคตั้งแต่ระยะแรกจนถึงระยะท้าย

* การรักษาโดยการผ่าตัด
1. เป็นการรักษาที่ดีที่สุดในแง่ที่จะไม่ทำให้กลับมาเป็นโรคอีก
2. หลักในการผ่าตัด คือ ตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาอยู่ให้เปิดกว้างออก เพื่อให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านได้โดยสะดวก ไม่ติดขัดหรือสะดุดอีก
3. การผ่าตัดแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ 3.1การผ่าตัดแบบเปิด เป็นวิธีมาตรฐาน ที่ควรทำในห้องผ่าตัด โดยฉีดยาชาเฉพาะที่ผ่าตัดเสร็จก็กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดหลีกเลี่ยงการใช้งานหนัก และการสัมผัสนิ้ว ประมาณ 2 สัปดาห์ 3.2การผ่าตัดแบบปิด โดยการใช้เข็มเขี่ยหรือสะกิดปลอกหุ้มเอ็นออก โดยแทบไม่มีแผลให้เห็น โดยวิธีนี้อาจมีผลแทรกซ้อนได้ถ้าไปเขี่ยหรือสะกิดถูกเส้นประสาท ดังนั้น จึงไม่แนะนำสำหรับนิ้วที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นประสาทสูง คือ นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้ และการผ่าตัดแบบปิดนี้ใช้ได้สำหรับคนไข้ที่มีอาการของโรคตั้งแต่ระยะที่สองขึ้นไป


หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว ใครที่กำลังประสบกับอาการนิ้วล็อคอยู่ ก็ลองนำวิธีการด้านบนไปทำตามได้เลย ส่วนคนที่ยังไม่เกิดอาการก็ควรทำตามวิธีการป้องกันด้านบนเพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงการเป็นนิ้วล็อคที่แสนจะเจ็บปวด 
loading...
Previous
Next Post »